สารละลายกรด

สารละลายกรด
    กรด  หมายถึง  สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบเมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H)
สมบัติของสารละลายกรด
     1.  กรดทุกชนิดมีรสเปรี้ยว
     2.  เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง (มีค่า pH น้อยกว่า 7)
     3.  ทำปฏิกิริยากับโลหะเช่นสังกะสีทองแดงแมกนีเซียมอะลูมิเนียมจะไดฟองแก๊สไฮโดรเจนออกมา
     4.  กรดติกัดกร่อนโลหะหินปูนเนื้อเยื่อของร่างกาย
     5.  กรดทำปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบของแคลเซียสคาร์บอเนตจะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
     6.  สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี
     7.  ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ
ประเภทของสารละลายกรด
         สารละลายกรดแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
   กรดอินทรีย์
     เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชิวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น
1. กรดอะซีติก หรือกรดน้ำส้ม ได้จากการหมักแป้งหรือน้ำตาลโดยใช้จุลินทรีย์ เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มีกรดอะซีติก 5% โดยมวลต่อปริมาตร)
2. กรดซิตริกหรือกรดมะนาว เป็นกรดที่มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว ส้มโอ
3. กรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี ที่มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
4. กรดอะมิโน เป็นกรดที่ใช้สร้างสารประเภทโปรตีน มักพบอยู่ในเนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็งหรือในพืชตระกูลถั่ว
5.  กรดฟอร์มิก เป็นกรดที่ได้จากมด





 กรดอนินทรีย์

      เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ ก็ได้ กรออนินทรีย์มีความสามารถในการกัดกร่อนสูง ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน เช่น
1.  กรดไฮโดรคลอริก หรือกรดเกลือ
2.  กรดไนตริก หรือกรดดินประสิว
3.  กรดคาร์บอนิก หรือกรดหินปูน
4.  กรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถัน


http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other5/555000009360602.jpg

ข้อควรระวังในการใช้สารละลายกรด

     กรดเป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ดังนั้นในการใช้สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในชีวิตประจำวันจะต้องใช้อย่างระวัง โดยเฉพาะภาชนะที่นำมาบรรจุสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะหรือพลาสติกโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ในการใช้สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสเปรี้ยว เราต้องแน่ใจว่าสารนั้นไม่เป็นอันตรายทั้งนี้เป็นเพราะผู้ผลิตบางรายได้นำกรดกำมะถันมาเจือจางด้วยน้ำแล้วปลอมปนนำมาขายแทนน้ำส้มสายชู เมื่อผู้บริโภคทานเข้าไปจะทำให้สารเคลือบฟันถูกกัดกร่อน กระเพราะอาหารและลำไส้จะถูกกัดกร่อนเป็นแผล ดังนั้นการใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามมาปรุงแต่งอาหารจะปลอดภัยกว่า ส่วนสารละลายกรดที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมนั้น เมื่อนำมาล้างพื้นหรือสุขภัณฑ์แล้ว ไม่ควรปล่อยลงในแหล่งน้ำ นอกจากนี้สารละลายกรดยังทำลายพื้นบ้านที่เป็นหินปูน ทำให้พื้นบ้านชำรุด ดังนั้นการใช้สารละลายกรดจึงต้องใช้ให้ถูกวิธี และอ่านคำแนะนำให้เข้าใจก่อนนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น