ชนิดและสมบัติของสารละลาย

     สารละลาย คือ ของผสมระหว่างสาร 2 ชนิด หรือมากกว่าที่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน ปริมาณของส่วนประกอบไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงได้ในขอบเขตจำกัด ส่วนประกอบที่มีปริมาณมาก หรือมีสถานะเดียวกันกับสารละลาย เรียกว่า ตัวทำละลาย (Solvent) ส่วนประกอบที่มีปริมาณน้อยเรียกว่า ตัวถูกละลาย ( Solute ) สารละลายอาจมีตัวถูกละลาย มากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งอาจมีสถานะเดียวกันหรือเท่ากันกับสารละลายก็ได้ เช่น อากาศเป็นสารละลายของแก๊สหลายชนิด แก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดคือ ไนโตรเจน ( N2 ) จึงจัดเป็นตัวทำละลายส่วนแก๊สอื่น ๆ เช่น ออกซิเจน ( O2 ) คาร์บอนไดออกไซด์     
( CO2 ) และอื่นๆ จัดเป็นตัวถูกละลาย สารละลายที่มีองค์ประกอบ 2 ชนิดเรียกว่า ทวิภาค
(Binary solution) ส่วนสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายเรียกว่า aqueous solution ซึ่งเราสามารถแยกส่วนประกอบของสารละลายออกจากกันได้โดยวิธี การกลั่น การระเหย การตกผลึก และการแพร่ของแก๊สเป็นต้น

      ชนิดของสารละลาย  (Types of Solution) สารละลายแบ่งความตามสถานะของสารได้เป็น 3 ชนิด คือ สารละลายแก๊ส (Gaseous solution) สารละลายของเหลว (Liguid solution) และสารละลายของแข็ง (Solid solution) เนื่องจากส่วนประกอบของสารละลายจะเป็นแก๊สของเหลว หรือของแข็งก็ได้ จึงแบ่งสารละลายออกได้เป็น 9 ชนิด ตามประเภทของตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย ดังตาราง 
            ตารางที่ 4 แสดง ชนิดของสารละลายจำแนกตามตัวทำละลายและตัวถูกละลาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น